Press ESC to close

ทำไมค่า เงินบาท จึงแข็งค่าขนาดนี้ เพราะอะไร มันดีไหม กับประเทศไทย

ทำไม ค่าเงินบาท จึงแข็งค่าขนาดนี้ เพราะอะไร มันดีไหมกับประเทศไทย

ถ้าจะพูดถึง ค่าเงินบาท ที่เราคุ้นเคย คือ 1 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ ต่อ 33-35 บาท ซึ่งก็เป็นแบบนี้มาตลอดในรอบ 10 ปีที่่ผ่านมา แต่ในปี 2019 ปีนี้ปีเดียวค่าเงินบาทแข็งค่าทะลุเป้า เหลือ 30 บาท ต่อ  1 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งเป็นที่น่าตกใจอย่างมาก แล้วค่าเงินบาท แข็งแบบนี้ มันส่งผลอะไรกับเราบ้าง

คนอย่างเราทั่วไปอาจจะรู้สึกว่าดี ด้วยซ้ำ เพราะ เราจะได้ไปเที่ยวต่างประเทศ ใช้เงินน้อยลง แลกเงินได้มากขึ้น สายเที่ยวยิ้มซิ แบบนี้

แต่คนที่เขาส่งออก เกษตรกร หรือแม้แต่ในระดับชาติ ที่่ส่งของไปขายต่างประเทศ เครียดซิแบบนี้ ส่งของเท่าเดิม ได้เงินน้อยลง

แล้วทำไมค่าเงินบาทแข็งขนาดนี้? เศรษฐกิจก็ไม่ได้ดีนะ ปัญหาเศรษฐกิจก็เยอะแต่บ้านเราทำไมค่าเงินแข็งค่าได้? มาดูกันเป็นสเต็ปดีกว่าว่าเพราะอะไร

อย่างแรกเลย เราต้องเข้าใจ ในพื้นฐานก่อนว่า สิ่งที่กำหนดค่าเงินหรือการกำหนด “อัตราแลกเปลี่ยน” ระหว่างค่าเงินประเทศหนึ่ง กับอีกประเทศหนึ่ง คือมูลค่การนำเข้า และส่งออกของสองประเทศนั้น โดยในทางทฤษฎี มันไม่ต้องเกี่ยวข้องกับการโตหรือไม่โตของเศรษฐกิจในภาพรวมเลย เศรษฐกิจโดยรวมหดตัวโดยที่ค่าเงินแข็งขึ้นก็เป็นไปได้

แล้วทำไมถึงเป็นแบบนี้ได้ล่ะ ? อันนี้เราก็ต้องเข้าใจ ก่อนว่ามูลค่าของสกุลเงินประเทศ หนึ่งในตลาดการเงินโลกมันขึ้นอยู่ กับความต้องการซื้อสินค้าและบริการจากประเทศนั้น ๆ และการขึ้นของของค่าเงินมันก็ขึ้นอยู่กับการที่คนในประเทศนั้น ๆ ต้องการสินค้าและบริการจากประเทศอื่น ๆ ในระดับที่เท่ากันหรือมากกว่า
เช่น สมมติกรณีประเทศไทย กับประเทศสหรัฐอเมริกา คนไทยจะซื้อสินค้า สหรัฐก็ต้องเอาเงินบาทไปแลกเป็น เงินดอลลาร์สหรัฐ ส่วนคนสหรัฐ จะซื้อสินค้าไทยก็ต้องเอาเงินดอลลาร์สหรัฐ ไปแลกเงินบาท ซึ่งการแลกกัน ทั้งระบบมันก็จะทำให้เกิดอัตราแลกเปลี่ยน

ทีนี้ถ้าเกิดปีถัดไปคนไทยต้องการสินค้าสหรัฐ น้อยกว่าเดิม แต่คนสหรัฐ ต้องการซื้อสินค้าไทยที่มากขึ้น แบบนี้สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ คนมีความต้องการเอาเงินดอลลาร์สหรัฐ มาแลกเงินบาท มากกว่าคนต้องการเอาเงินบาทไปแลกเงินดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าปีก่อน ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เงินบาทก็กลายเป็น “ของที่มีขายน้อยในตลาด” และราคามันก็ขึ้น ผลก็คือเงินบาทก็จะ “แข็งค่าขึ้น นั้นเอง ”

นี่คือกระบวนการขั้นพื้นฐาน ในการกำหนดค่าเงินที่เราต้องเข้าใจก่อน เพราะในความเป็นจริง การค้าระหว่างประเทศมันโยงใยกันในหลายรูปแบบ และมีการเทียบค่าเงินปกติมันก็จะเทียบกับเป็นคู่สกุลเงินเท่านั้น พูดอีกแบบ คือ ปกติเราจะบอกไม่ได้ว่าค่าเงินเรา “แข็ง” หรือไม่ เพราะแข็งหรือไม่แข็งนั้น มันต้องเทียกับเงินเป็นแต่ละสกุลเงิน ไป

แต่ทีนี้ถามว่า มันมีค่าเงินที่ใช้ เป็นสกุลเงินทั่วไปที่ใช้ในการเทียบมั้ย? คำตอบคือ มี ก็คือ เงินดอลลาร์สหรัฐ นั้นหละเป็นหลักเลย เป็นสกุลที่ใช้ในการชำระเงินมากที่สุดในโลกของการค้าระหว่างประเทศ

พูดง่าย ๆ ก็คือ ค่าเงินที่ “แข็งขึ้น” เมื่อเทียบกับทั้งดอลลาร์สหรัฐ เขาก็จะว่ามัน “แข็ง”  และค่าเงินไทยก็ “แข็ง” ในตอนนี้นั้นเอง

ต้องรอดูในปี หน้า ว่าค่าเงินบาทของประเทศไทย จะยังคงแข็งค่าต่อไปอีกไหม ช่วงนี้ใครอยากไปต่างประเทศก็ ตักตวงเลย เพราะใช้เงินน้อยลง ถือว่าใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์ นะจ้ะ

 

ขอบคุณข้อมูล      :      brandthink.me/articles/3313moneybuffalo.in.th

 

error: Content is protected !!