Press ESC to close

5 เทคนิคช่วยในเรื่องความจำ หลังจากการ อ่านหนังสือ

5 เทคนิคช่วยในเรื่องความจำ หลังจากการอ่านหนังสือ

เชื่อเลยว่าหลายๆ คนก็คงเป็น กับสิ่งที่ว่าเมื่อ อ่านหนังสือ ไปแล้ว สักพักเดี๋ยวก็ลืม ไม่นานก็หายหมด จะเอาที่ไหนไปสอบเนี่ย มันจึงเป็นปัญหาที่ทำให้หลายๆ คนไม่ค่อยอยากจะอ่านหนังสือสอบกัน มาในบทความนี้ พี่ก็มีเทคนิคดีๆ มาแนะนำกัน โดยเป็น 5 เทคนิค ที่จะช่วยให้เรา อ่านจำได้ดียิ่งขึ้น

ถ้าอยากรู้ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง ลองมาดูกันเลยจ้า

1. สร้างความจำด้วย Nail Words

วิธีนี้คือการสร้างความเกี่ยวข้องเพื่อให้การจดจำดีมากขึ้น ตัวอย่างเช่นคุณกำลังต้องจำคำว่า Nail (ตะปู) ก็ต้องหาคำศัพท์ที่อยู่ในแวดล้อมเดียวกันมาด้วยอย่าง Wall (ผนัง) Hammer (ค้อน) หรือ Windows (หน้าต่าง) ด้วย เพราะมันเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงและทำให้ความจำเราแม่นยำขึ้นได้

2. ฝึกจำจากเรื่องที่อยู่ตรงข้าม

บน-ล่าง ขาว-ดำ กลางวัน-กลางคืน ทั้งหมดนี้คือคำตรงข้ามที่เป็นจุดเด่นของวิธีการนี้ เช่นสมมุติคุณกำลังฝึกฝนเรื่องภาษาที่ 2 อยู่ การเรียนรู้ คำศัพท์ ตรงข้ามจะช่วยเชื่อมโยงคำให้เองโดยปริยาย

3. ใช้ทฤษฎีการรบกวน Interference Theory

ตามชื่อทฤษฎีเป๊ะ ๆ วิธีการนี้คือแนะนำว่าให้ลองสลับเปลี่ยนความสนใจของเราจากเรื่องหนึ่งไปยังอีกเรื่องหนึ่ง โดยใช้เวลากับสิ่งที่จดจ่ออยู่เพียง 15 – 20 นาที แล้วเปลี่ยนความสนใจตัวเองไปยังเรื่องอื่นๆ เพราะตามปกติแล้วสมาธิที่ดีที่สุดจะอยู่ในช่วงเวา 15 – 20 นาที แล้วค่อยกลับมาสนใจในเรื่องที่ทำอยู่ จะช่วยให้เราเข้าใจเนื้อหาได้ดีมากขึ้น

4. รับสารจากแหล่งที่อัปเดตเสมอ

การอ่านข้อมูลที่เก่ามาก ๆ จะทำให้เราเกิดความไม่รู้สึกร่วมในการเรียนรู้ ฉะนั้นการเรียนรู้เรื่องราวใหม่ๆ ฟังและเรียนรู้จากสิ่งใหม่ๆ ก็จะทำให้เราสนใจและอยากเรียนรู้มากขึ้นก็ได้นะ

5. การจำแบบ Sherlock Holmes

เป็นแนวทางจากซีรีส์เรื่องฮิตอย่าง Sherlock Holmes บอกเลยว่าตัวละครจุดเจ๋งที่ทำให้เราว้าวอยู่ตลอดทั้งเรื่องนั้นจริง ๆ แล้วเขาให้วิธีการจำแบบโลไซ หรือ Method of Loci เป็นวิธีการที่ใช้กันมานานตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ มันคือการฝากความทรงจำไว้ในที่ที่คุ้นเคย เช่น ถ้าเราต้องการจะจำคำศัพท์ 10 คำ ก็ลองสร้างเส้นทางขึ้นมาภายในบ้านแล้วแปะคำศัพท์เอาไว้ระหว่างทางเดินจากประตูห้องน้ำไปยังห้องครัว เป็นต้น

** ลองเอาไปปรับใช้เป็นแนวทางกันดูนะจ้ะ

.

ขอบคุณเนื้อหา จาก   :     trueplookpanya.com/tcas/article/detail/90618

error: Content is protected !!