Press ESC to close

เทคนิคทำ พอร์ตโฟลิโอ ตามแนวทาง สำหรับเตรียมเข้า มศว

เทคนิคทำ พอร์ตโฟลิโอ ตามแนวทางสำหรับเตรียมเข้า มศว

ในบทความนี้ พี่ก็มีเทคนิคดีๆ สำหรับน้องๆ ที่อยากจะเข้า รอบที่ 1 พอร์ตโฟลิโอ มศว มาฝากกัน โดยเป็นคำแนะนำจาก ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรฯ มศว อาจารย์ yukolwat มาฝากกัน โดยท่านอาจารย์แนะนำอะไรกับน้องๆ ที่อยากยื่นพอร์ตรอบนี้บ้าง ไปดูกันเลยจ้า

หลักๆ เลยปัญหาของ Portfolio ที่ใช้ยื่น TCAS คือ “สวยแต่ไม่สื่อสาร” สำคัญ คือ การสื่อสารมากกว่าความสวยของพอร์ตนะจ้ะ

1. หน้าปกชื่อนามสกุล  มักใส่เป็น font ภาษาอังกฤษ  แต่ใบรายชื่อ ที่ให้ลงคะแนน มันเป็นภาษาไทย! Port คนสมัครเป็นร้อยเป็นพัน
ชื่อใกล้เคียงกัน น้องสะกดภาษาอังกฤษ กรรมการจะต้องพยายามแปล Eng เป็น ไทย มีโอกาส พลาด หาไม่เจอ ใช้ภาษาไทยเถอะครับ ( เว้นหลักสูตร inter )

2. ปก ของพอร์ตโฟลิโอ  ที่แนะนำคือ  รูปควรสบตากับคนอ่าน ดวงตาน่ะมันช่วยสื่อสารได้ จะมุ่งมั่น เป็นมิตร มั่นใจ สุภาพ เรียบร้อย รูปสบตามันช่วยสื่อสารได้ ส่วนชุด ท่าทาง ให้สอดคล้องบุคลิกสาขาที่สมัคร แนะนำ คือ ชุดนักเรียน สุภาพ ง่ายที่สุด

3. คำนำ ไม่จำเป็น ไม่ต้องใส่มา โดยส่วนตัวเห็นขึ้นต้นแบบนี้ เปิดผ่านหน้านี้เลย เสียเวลา ดังนั้นถ้าจะใส่ หรือ ต้องใส่ คำนำจงตั้งใจเขียน ไม่ต้องยาว แนะนำว่าเขียนว่าทำไม? ถึงอยากเรียนสาขานี้ก็ได้

4. สารบัญ พอร์ทมีแค่ 10 หน้า เปิดไม่กี่ทีก็ครบแล้ว แต่ละหน้าไม่ได้หายากอะไร ต้องเปิดดูหมดอยู่แล้ว ไม่ต้องใส่มาก็ได้ แต่ถ้าจะใส่ ควรทำให้มีประโยชน์มากกว่าบอกว่าอะไรอยู่หน้าไหน

5. เกียรติบัตร ทุกคนก็พยายามใส่กันมา บางคนมีมาก บางคนมีน้อย บางคนใส่หน้าละใบ บางคนใส่ หลายใบใน1 หน้า คำแนะนำ อันไหนเด่น อันไหนยิ่งใหญ่ ไฮไลท์ให้มันเด่นหน่อย

วิธีนำเสนอ คือ นอกจากใส่ภาพเกียรติบัตร นั้นมา ควรมีข้อความด้านล่างเขียนถึง ” สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมนั้น หรือ รายละเอียดเพิ่มเติมถึงรางวัล/กิจกรรมนั้น ” จะทำให้เกียรติบัตรใบนั้นๆ มีคุณค่ามากขึ้น ไม่งั้นกรรมการอาจมองผ่านๆไป ก็ได้

6. สมัครโครงการอะไร พยายามดูเนื้อหาของพอร์ทให้มันสื่อสารไปทางนั้น สมัครเด็กดีมีคุณธรรม วิชาการเก่ง เด็กกิจกรรม ทำเสร็จลองเปิดดูว่า มันสื่อสารว่าตัวเราไปในทิศทางนั้นไหม ไม่ใช่สมัครโครงการเด็กดี แต่เอากิจกรรมกีฬามา มันก็ไม่เหมาะนะ

7. พอร์ทต้องสวยไหม ? ถึงแม้ว่าความสวยงามจะไม่ถูกบอกว่าเป็นคะแนน  แต่มันมีผลอยู่บ้างแหละ มันสื่อสารถึงความตั้งใจ ใส่ใจ ใครไม่ชอบเห็นสิ่งสวยงาม ? มันอาจมีอิทธิพลอยู่ลึกๆ บ้าง แต่พอร์ทที่สวยและดี ไม่ใช่ต้องจ้างทำนะ แต่พอร์ทที่ดีคือ พอร์ทที่สื่อสารไปยังกรรมการ ว่า “เลือกเด็กคนนี้สิ” อาจารย์เขาว่างั้นนะ

8. อย่าสะกดผิด  ก่อนส่ง ก่อนพิมพ์ ออกมาเป็นเล่ม ตรวจดูให้ดี อย่ามีคำผิด เคยเจอมาหลายแบบมากๆ บางครั้งผิดแม้แต่ชื่อตัวเอง ชื่อมหาลัย มันสื่อถึงความไม่ตั้งใจ ไม่รอบคอบ เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้กรรมการไม่ประทับใจได้ อย่าพลาด อ่านดีๆ ตรวจทุกหน้า ด้วยล่ะ

9. เรื่องสีมหาลัย สีคณะ โลโก้มหาลัย
อยากจะเอาใจกรรมการ  เน้นออกมาแล้วสื่อสารความเป็นเรา และสอดคล้องกับคุณสมบัติ สิ่งที่คณะนั้นๆ ตามหา สำคัญกว่า

10. สุดท้าย คนที่มีดี เก่ง กิจกรรมเลิศ แต่ไม่สามารถสื่อสารสิ่งที่มีนั้น ออกมาได้ ผ่าน Portfolio ให้กรรมการเห็น

ก็อาจไม่ใช่ผู้ผ่านคัดเลือกในรอบนี้ เช่นเดียวกันกับบางคนอาจไม่ใช่เก่งที่สุดแต่สื่อสารสำเร็จ ก็มีโอกาสเช่นเดียวกัน พยายามทำพอร์ตให้มีการสื่อสารที่ชัดเจน และเป็นตัวเราที่สุดนะจ้ะ

.

ขอบคุณเนื้อหา และข้อมูลจาก   :

twitter @yukolwat

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรฯ มศว

อ. วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม / อ.ที่ปรึกษาสภานิสิต มศว

error: Content is protected !!