Press ESC to close

แนะแนวก่อนเข้าเรียน คณะ กายภาพบำบัด อีกหนึ่งคณะสายวิทย์สุขภาพ

แนะแนวก่อนเข้าเรียน คณะ กายภาพบำบัด อีกหนึ่งคณะสายวิทย์สุขภาพ

อีกหนึ่งคณะในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่มีน้องๆ ให้ความสนใจที่อยากจะเข้าศึกษาต่อเป็นจำนวนมาก แม้ว่าจะไม่ได้ขาดตลาดมากเหมือนอย่างกับ แพทย์ พยาบาล แต่ก็เป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานพอสมควร เพราะด้วยประชากรที่มากขึ้น

ยังไง อาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ก็มีความต้องการสูงอยู่อย่างแน่นอน และนี่คือ อีกคณะที่พี่จะมานำเสนอ ในบทความนี้ กับ คณะ กายภาพบำบัด คณะนี้เรียนอะไร จบมาทำงานอะไร มาลองดูข้อมูลกันหน่อยดีกว่าจ้า

เกริ่นนำกันหน่อย กายภาพบำบัดคืออะไร

กายภาพบำบัด คือ วิชาชีพสาขาหนึ่งทางการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพของประชาชน ทั้งในแง่ของการส่งเสริม, ป้องกัน, รักษา และฟื้นฟูสุขภาพร่างกายและจิตใจโดยใช้วิธีตามหลักวิทยาศาสตร์และการใช้ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางกายภาพบำบัดโดยมีเป้าหมายให้ประชาชนมีสุขภาพและมี ความสามารถในการทำงานของร่างกายอย่างเต็มที่

.

เรียนอะไรบ้าง

นักกายภาพบำบัดเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยใช้เวลาศึกษาทั้งสิ้น 4 ปี

ในช่วงปีแรก จะศึกษาวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เช่น วิชาชีววิทยา, เคมี, แคลคูลัส และหมวดวิชาพื้นฐานอื่นๆ เช่น วิชาทางสังคมศาสตร์, มนุษยศาสตร์, ภาษาอังกฤษ และคอมพิวเตอร์

สำหรับในปีที่ 2 – 4 จะศึกษาในหมวดวิชาชีพต่างๆ เช่น กายวิภาคศาสตร์, สรีรวิทยา, พยาธิวิทยา, ประสาทกายวิภาคศาสตร์, หลักพยาบาลเบื้องต้น ตลอดจนวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว เป็นต้น

.

เมื่อสำเร็จการศึกษา

ผู้ที่จบการศึกษาจากคณะนี้ จะมีสิทธิสอบเพื่อรับใบประกอบวิชาชีพ ซึ่งหากสอบได้ ก็จะสามารถทำงานเป็นนักกายภาพบำบัดในสถานที่ต่างๆ เช่น

1. โรงพยาบาลของรัฐและเอกชน

2. คลินิกกายภาพบำบัด

3. ศูนย์ส่งเสริมสมรรถภาพร่างกาย (Fitness Center)

.

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน คณะนี้

*บางมหาวิทยาลัย อาจจสังกัดอยู่ในคณะอื่น

1. คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล

2. คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยรังสิต

3. คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

4. คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

5. คณะกายภาพบำบัด วิทยาลัยเซนต์หลุยส์

** มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน ทั้งหมด   :    ลิงก์พาไป !!

.

ขอบคุณข้อมูล    :  th.wikipedia.org/wiki/รายชื่อคณะกายภาพบำบัดในประเทศไทย , pt.ahs.chula.ac.th/m/blog-detail?id=9

error: Content is protected !!