Press ESC to close

แบบประเมินความเครียด ด้วยตนเอง ลองทำดูจะได้รู้ว่าหนักแค่ไหนแล้ว !!

แบบประเมินความเครียดด้วยตนเอง ลองทำดูจะได้รู้ว่าหนักแค่ไหนแล้ว !!

ไม่พูดไม่เกริ่นอะไรมากสำหรับบทความนี้ ไปทำแบบประเมินกันเลยจ้ะ

หากคุณตอบแบบประเมินครบทั้ง 20 ข้อ แล้วให้คุณให้คะแนนแต่ละข้อดังนี้

ไม่เคยเลย  =       0      คะแนน
เป็นครั้งคราว  =    1       คะแนน
เป็นบ่อยๆ   =       2       คะแนน
เป็นประจำ  =       3       คะแนน

จากนั้น ให้รวมคะแนนทั้ง 20 ข้อ คะแนนที่ได้จะอยู่ระหว่าง 0-60 คะแนน ซึ่งแต่ละช่วงคะแนนมีความหมาย ดังนี้

0-5 คะแนน แสดงว่า เครียดน้อยกว่าปกติ อาจเป็นเพราะคุณมีชีวิตที่เรียบง่าย ไม่จำเป็นต้องต่อสู้ดิ้นรนในการดำเนินชีวิตสักเท่าใดนัก คุณอาจถามตัวเองว่าพอใจหรือไม่กับสิ่งที่เป็นอยู่ หากพอใจและชีวิตไม่เดือดร้อนก็สามารถดำเนินชีวิตต่อไปอย่างเป็นสุข แต่ถ้าไม่พอใจควรปรับเปลี่ยนวิถี เช่น อ่านหนังสือ สังสรรค์กับเพื่อน หรือวางเป้าหมายชีวิตที่เหมาะสมกับตัวเองแล้วดำเนินชีวิตไปสู่เป้าหมายที่วางไว้

6-17 คะแนน แสดงว่า เครียดในระดับปกติคุณสามารถจัดการกับความเครียดที่เกินขึ้นในชีวิตประจำวันได้ดี และปรับตัวปรับใจให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆได้อย่างอย่างเหมาะสม คุณควรพยายามรักษาระดับความเครียดเช่นนี้ต่อไปให้ได้นานๆ

18-25 คะแนน แสดงว่า เครียดสูงกว่าระดับปกติเล็กน้อย คุณอาจกำลังมีปัญหาบางอย่างที่ทำให้ไม่สบายใจ อาจทำให้มีอาการผิดปกติทางร่างกาย จิตใจและการแสดงออกได้เล็กน้อย แต่เมื่อได้พักผ่อนหย่อนใจก็จะรู้สึกดีขึ้นเอง หากทำแล้วยังไม่หายเครียดควรพูดคุยหรือปรึกษาเรื่องที่รบกวนจิตใจกับคนไว้วางใจ

26-29 คะแนน แสดงว่า เครียดสูงว่าระดับปกติปานกลาง        คุณอาจกำลังมีปัญหาบางอย่างในชีวิตที่ยังหาทางแก้ไม่ได้ ทำให้มีอาการผิดปกติทางร่างกาย จิตใจ และการแสดงออกอย่างเห็นได้ชัด และแม้จะพักผ่อนหย่อนใจแล้วก็อาจจะไม่หายเครียด ควรค้นหาสาเหตุของปัญหาที่ทำให้ไม่สบายใจ คิดแก้ไขปัญหาและลงมือแก้ไข

30-60 คะแนน แสดงว่า เครียดสูงกว่าระดับปกติมาก คุณอาจกำลังเผชิญภาวะวิกฤตในชีวิตหรือสะสมความเครียดไว้มากเกินไปเป็นเวลานาน ควรคลายเครียดด้วยการหยุดพักความคิด ยืดเส้นยืดสายให้ร่างกายผ่อนคลาย พักผ่อนหย่อนใจ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง คิดแก้ปัญหาและลงมือแก้ไขปัญหา หากไม่ดีขึ้นควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

 

เอกสารอ้างอิง

แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง, สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก หน้า 17-18 โดยกระทรวงสาธารณสุข ฉบับปีที่พิมพ์2548 และ
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

 

error: Content is protected !!