Press ESC to close

10 สาขาวิชา คณะบริหารธุรกิจ / การจัดการ ที่น่าเรียนต่อ

10 สาขาวิชา คณะบริหารธุรกิจ / การจัดการ ที่น่าเรียนต่อ

สำหรับ คณะบริหารธุรกิจ และ คณะการจัดการ เป็นอีกคณะที่มีคนเรียนต่อกันค่อนข้างเยอะ เพราะด้วยพื้นฐานของการค้าขาย การทำธุรกิจ ก็ต้องมีความรู้ตรงนี้กันทั้งนั้น ทั้ง หลักการค้า หลักการตลาด การวางแผน หลักการบัญชี การจัดการคน เป็นต้น

ด้วยเหตุผลและปัจจัยเหล่านี้จึงทำให้คณะบริการธุรกิจ และคณะการจัดการ จึงเป็นที่นิยมในทุกยุคทุกสมัย สำหรับการเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย และในบทความนี้ พี่ก็เอาใจน้องๆ ที่อยากเข้าศึกษาต่อในสายนี้ ด้วยการมา แนะนำ 10 สาขาวิชา ที่น่าเรียนต่อ สำหรับ คณะบริหารธุรกิจ และ คณะการจัดการ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยจ้า

10 สาขาวิชา น่าเรียนต่อ คณะบริหารธุรกิจ / การจัดการ

1. สาขาวิชาการจัดการ (Management)

จะการเรียนเกี่ยวกับกระบวนการบริหารการจัดการความรู้ แนวคิด ทฤษฎี และกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อนำไปประยุกต์ให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาองค์การ การจัดการเชิงกลยุทธ์ หลักการบริหารองค์กร เป็นต้น

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน (ตัวอย่าง)

มหาวิทยาลัยบูรพา

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

มหาวิทยาลัยนเรศวร

มหาวิทยาลัยศิลปากร

กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นต้น

จบมาประกอบอาชีพ อะไรได้บ้าง

1. เจ้าหน้าที่จัดการทั่วไป ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

2. เจ้าหน้าที่วางแผน ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

3. เจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เป็นต้น

.

2. สาขางวิชาการตลาด (Marketing)

จะเรียนเกี่ยวกับการวางแผนการตลาดอย่างสร้างสรรค์ พฤติกรรมของผู้บริโภค การวิจัยการตลาด การส่งเสริมการขาย การพยากรณ์ยอดขาย การโฆษณา การตลาดระหว่างประเทศ นโยบายผลิตภัณฑ์และราคา เป็นต้น

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน (ตัวอย่าง)

มหาวิทยาลัยบูรพา

มหาวิทยาลัยศิลปากร

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

จบมาประกอบอาชีพ อะไรได้บ้าง

1. นักวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด

2. นักการตลาดดิจิทัล

3. นักวิจัยตลาด / นักวิเคราะห์การตลาด

4. ที่ปรึกษาด้านการตลาด

5. เจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย เป็นต้น

.

3. สาขาวิชาการบัญชี (Accounting)

จะเรียนเกี่ยวกับการจัดการบันทึกรายการทางการค้า การเขียนบันทึกรายการและการจำแนกแยกประเภทหมวดหมู่ทางการค้า การบัญชี ภาษีอากร การบัญชีระหว่างประเทศ การสอบบัญชี ระบบสารสนเทศทางการบัญชี เป็นต้น

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน (ตัวอย่าง)

มหาวิทยาลัยบูรพา

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

จบมาประกอบอาชีพ อะไรได้บ้าง

1. เจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชี

2. เจ้าหน้าที่ในด้านของภาษีอากร

3. ผู้ตรวจสอบบัญชี เป็นต้น

.

4. การเงินและการธนาคาร (Money and Banking)

จะทำการศึกษาในเรื่องของ หลักสำคัญของวิชาทางการเงินเพื่อให้มีความเชี่ยวชาญทางด้านการบริหารเงินครอบคลุมการวิเคราะห์ การลงทุน สินเชื่อ การเรียกเก็บเงิน งบการเงิน การวิเคราะห์หลักทรัพย์ เป็นต้น

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน (ตัวอย่าง)

มหาวิทยาลัยสยาม

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยพะเยา

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ

จบมาประกอบอาชีพ อะไรได้บ้าง

1. เจ้าหน้าที่ธนาคาร

2. เจ้าหน้าที่วิเคราะห์สินเชื่อ

3. ที่ปรรึกษาในด้านการเงิน

4. เจ้าหน้าที่ ในโบรกเกอร์การลงทุน เป็นต้น

.

5. การจัดการอุตสาหกรรม (Industrial Management)

เป็นเรียนเกี่ยวกับการบูรณาการหรือควบรวมศาสตร์ด้านวิศวกรรม เข้ากับศาสตร์ด้านการบริหารอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน (ตัวอย่าง)

กลุ่มมหาวิทยาลัย 3 พระจอม

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

จบมาประกอบอาชีพ อะไรได้บ้าง

1. เจ้าหน้าที่วางแผนการผลิต

2. เจ้าหน้าที่จัดการทั่วไป ในหน่วยงานของภาคเอกชน เป็นต้น

.

6. คอมพิวเตอร์ธุรกิจ (Business Computer)

จะเรียนการใช้เทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่การเป็นนักบริหารด้านคอมพิวเตอร์ มีการเรียนใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน (ตัวอย่าง)

มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

มหาวิทยาลัยนเรศวร

จบมาประกอบอาชีพ อะไรได้บ้าง

1. เจ้าหน้าที่ฝ่ายคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานธุรกิจ

2. เจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย

3. เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนด้านซอฟต์แวร์ (Support)

4. เจ้าหน้าที่ฝ่าย E – Learning เป็นต้น

.

7. ธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business)

จะได้เรียน หลักและกระบวนการส่งออกและนำเข้า การติดต่อสื่อสารทางธุรกิจระหว่างประเทศ การจัดระบบข้อมูลด้านการจัดการอุตสาหกรรมการบริการ เป็นต้น

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน (ตัวอย่าง)

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

จบมาประกอบอาชีพ อะไรได้บ้าง

นักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจควบคู่กับการใช้ภาษาต่างประเทศ สามารถเป็นผู้ประกอบการด้านธุรกิจส่งออก นำเข้าขนส่งสินค้า ตัวแทนขนส่งสินค้า

.

8. การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)

จะเรียนเกี่ยวกับ ระบบบริหารการสั่งซื้อ การจัดเก็บวัตถุดิบสินค้าระหว่างการผลิต กระบวนการในการจัดการวางแผน เป็นต้น

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน (ตัวอย่าง)

มหาวิทยาลัยบูรพา

มหาวิทยาลัยศิลปากร

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

จบมาประกอบอาชีพ อะไรได้บ้าง

เจ้าหน้าที่ในฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบ เป็นต้น

.

9. สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Management)

จะเรียนเกี่ยวกับวิธีการและกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การวางแผน การสรรหา การคัดเลือก การฝึกอบรมและการพัฒนา การประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นต้น

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน (ตัวอย่าง)

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

มหาวิทยาลัยนเรศวร

มหาวิทยาลัยบูรพา

จบมาประกอบอาชีพ อะไรได้บ้าง

1. เจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์

2. เจ้าหน้าที่จัดการทั่วไป เป็นต้น

.

10.สาขาวิชาการจัดการการผลิต (Operations Management)

จะเรียนในเรื่องของการบริหาร, จัดการ และวางแผนการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน (ตัวอย่าง)

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

จบมาประกอบอาชีพ อะไรได้บ้าง

1. นักวางแผนการผลิต

2. นักบริหารโครงการ

3. นักออกแบบธุรกิจบริการ

4. นักวางแผนกลยุทธ์ เป็นต้น

.

ขอบคุณข้อมูล   :    admissionpremium.com/business/news/2162  , admissionpremium.com/business/news/2161

intrend.trueid.net/bangkok/ภาควิชาการจัดการการผลิต-คืออะไร-trueidintrend_13170

admissionpremium.com/content/5875  ,  admissionpremium.com/content/1854

admissionpremium.com/logis/news/3503  ,  bu.ac.th/th/business/career-opportunities

error: Content is protected !!