Press ESC to close

คุณสมบัติ และขั้นตอน ในการขอยื่นกู้ กยศ กรอ

คุณสมบัติ และขั้นตอน ในการขอยื่นกู้ กยศ กรอ

เชื่อเลยว่าน้องๆ หลายคนคงกังวลอยู่แน่ว่า หากเราเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้ จะมีค่าเทอมไหม จะพอหรือเปล่า ในบทความนี้พี่ก็มีข้อมูลของ กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาอย่าง กยศ และ กรอ มาฝากกัน หากใครที่กำลังจะเข้ามหาวิทยาลัย และกำลังหาทุนการศึกษาอยู่ ลองไปศึกษาข้อมูลกันดูนะจ้ะ

คุณสมบัติผู้ขอยื่นกู้ กยศ และ กรอ

กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.)

1) ผู้ขอรับทุนต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

1.1) มีสัญชาติไทย

1.2) อายุไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์

1.3) เป็นนิสิตหรือนักศึกษารายใหม่ที่ขอรับทุนเพื่อเข้าศึกษาในชั้นปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2555 ที่มิใช่ผู้กู้ยืมเงินรายเก่าของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.) หรือเป็นนิสิตหรือนักศึกษาที่เป็นผู้กู้ยืมเงินรายเก่าของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ที่เปลี่ยนระดับจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าทั้งสายสามัญและสายอาชีพเป็นระดับอาชีวศึกษาชั้นสูงหรือเทียบเท่าระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่า ในปีการศึกษา 2555

1.4) เป็นนิสิตหรือนักศึกษาในสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนในระดับการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) หรือเทียบเท่าระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตอบรับให้เข้าศึกษา โดยผ่านการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

2) นิสิตหรือนักศึกษาผู้มีสิทธิขอรับทุนจะต้องศึกษาอยู่ในสถานศึกษาที่มีรายชื่อเข้าร่วมโครงการเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคตตามประกาศของสำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

3) นิสิตหรือนักศึกษาผู้มีสิทธิขอรับทุนจะต้องศึกษาในระดับการศึกษาและหลักสูตร/ประเภทวิชาและสาขาวิชา ดังนี้

3.1) ระดับการศึกษา ระดับอนุปริญญา หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) หรือเทียบเท่า ระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

3.2) หลักสูตร/ประเภทวิชาและสาขาวิชา เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกองทุนเพื่อการศึกษา เรื่อง กำหนดหลักสูตร/ประเภทวิชาและสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลักและมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคน สำหรับนิสิตหรือนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการปีการศึกษา 2555 พ.ศ. 2555

4) นิสิตหรือนักศึกษาสามารถขอรับทุนได้เพียงหนึ่งหลักสูตรในแต่ละปีการศึกษาไม่เกินอัตราค่าเล่าเรียนที่สถานศึกษาเรียกเก็บ ตามจำนวนปีที่กำหนดไว้แต่ละหลักสูตรกรณีที่ผู้ขอรับทุนมีสิทธิเบิกค่าเล่าเรียนจากหน่วยงานของรัฐให้ผู้ขอรับทุนขอรับทุนได้เฉพาะค่าเล่าเรียนส่วนต่างเท่านั้น ทั้งนี้ ต้องไม่เกินอัตราที่กำหนด

5) นิสิตหรือนักศึกษาที่มีสิทธิได้รับค่าครองชีพ ต้องเป็นผู้มีรายได้ครอบครัวไม่เกิน 360,000 บาทต่อปี และให้ได้รับค่าครองชีพในอัตราเดือนละ 3,000 บาท (เริ่มปีการศึกษา 2563) การพิจารณารายได้ครอบครัว ให้ผู้บริหารสถานศึกษาพิจารณากลั่นกรองข้อมูลตามหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

5.1) รายได้รวมของนิสิตหรือนักศึกษาผู้ขอรับทุนรวมกับรายได้ของบิดาและมารดากรณีที่บิด มารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองไม่ใช่บิดา มารดา

5.2) รายได้รวมของนิสิตหรือนักศึกษาผู้ขอรับทุนรวมกับรายได้ของผู้ปกครองในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองไม่ใช่บิดา มารดา

5.3) รายได้รวมของนิสิตหรือนักศึกษาผู้ขอรับทุนรวมกับรายได้ของคู่สมรสในกรณีที่ผู้ขอรับทุนสมรสแล้ว

6) นิสิตหรือนักศึกษาผู้ใดประสงค์จะขอรับทุนให้ยื่นคำขอกู้ผ่านระบบที่สำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาจัดทำไว้ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่คณะกรรมการจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

7) กองทุนเพื่อการศึกษา จะจ่ายทุนการศึกษาแบบต้องใช้คืนให้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

7.1) ค่าเล่าเรียน จ่ายให้สถานศึกษาที่ผู้รับทุน(ผู้กู้ยืมเงิน)โดยตรงโดยโอนเข้าบัญชีชื่อ “กรอ.(ระบุชื่อสถานศึกษา)” ของกองทุนเพื่อการศึกษา กระทรวงการคลัง ตามประกาศคณะกรรมการกองทุนเพื่อการศึกษาเรื่อง การกำหนดหน้าที่ วิธีปฏิบัติ และความรับผิดชอบของสถานศึกษาที่เข้าร่วมกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต(กรอ.) ปีการศึกษา 2555 พ.ศ. 2555

7.2) ค่าครองชีพ จ่ายให้นิสิตหรือนักศึกษาที่มีสิทธิได้รับค่าครองชีพผู้รับทุน(ผู้กู้ยืมเงิน) โดยโอนเข้าบัญชีของผู้รับทุน(ผู้กู้ยืมเงิน) ตามที่ได้แจ้งให้แก่กองทุนเพื่อการศึกษา

.

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

1) เป็นผู้มีสัญชาติไทย2) เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด ดังนี้ ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ หมายความว่า ผู้ที่มีรายได้ต่อครอบครัวไม่เกิน 360,000 บาทต่อปีรายได้ต่อครอบครัวพิจารณาตามหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

2.1) รายได้รวมของนักเรียนหรือนักศึกษาผู้ขอกู้ยืม รวมกับรายได้ของบิดามารดา ในกรณีที่บิดามารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง

2.2) รายได้รวมของนักเรียนหรือนักศึกษาผู้ขอกู้ยืม รวมกับรายได้ของผู้ปกครองในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองมิใช่บิดา มารดา

2.3) รายได้รวมของนักเรียนหรือนักศึกษาผู้ขอกู้ยืม รวมกับรายได้ของคู่สมรสในกรณีที่ผู้ขอกู้ยืมได้ทำการสมรสแล้ว

3) มีคุณสมบัติอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด ดังนี้

3.1) เป็นผู้ที่มีผลการเรียนดีหรือผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผลของสถาบันการศึกษา

3.2) เป็นผู้ที่มีความประพฤติดี ไม่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของสถาบันการศึกษาขั้นร้ายแรง หรือไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย เช่น หมกมุ่นในการพนัน เสพยาเสพติดให้โทษ ดื่มสุราเป็นอาจิณหรือเที่ยวเตร่ในสถานบันเทิง เริงรมย์เป็นอาจิณ เป็นต้น

3.3) เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบหรือประกาศการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในโรงเรียน สถานศึกษาหรือสถาบันการศึกษาที่อยู่ในสังกัดการควบคุมหรือกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงหรือ ส่วนราชการอื่น ๆ ทบวงมหาวิทยาลัย รัฐวิสาหกิจ

3.4) ไม่เคยเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาใด ๆ มาก่อน

3.5) ไม่เป็นผู้ที่ทำงานประจำในระหว่างการศึกษา

3.6) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

3.7) ไม่เป็นหรือเคยได้รับโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

3.8) ต้องมีอายุในขณะที่ขอกู้โดยเมื่อนับรวมกับระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี และระยะเวลาผ่อนชำระอีก 15 ปีรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 60 ปี

.

เอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการพิจารณากู้ยืมเงิน

1. แบบคำขอกู้ยืมเงินที่จัดพิมพ์ออกจากระบบ e-Studentloan และแบบคำขอกู้ยืมเงินที่เป็นเอกสาร(แบบ กยศ.101)

2. เอกสารของผู้ยื่นคำขอกู้ยืมเงิน

2.1 สำเนาทะเบียนบ้าน หรือ

2.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

3. เอกสารของบิดา และมารดา หรือผู้ปกครอง หรือคู่สมรสของผู้ยื่นคำขอกู้ยืมเงิน

3.1 สำเนาทะเบียนบ้าน หรือ

3.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

4. เอกสารประกอบการรับรองรายได้ ดังนี้

4.1 กรณีบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือคู่สมรสของผู้ขอกู้ยืมเงินมีรายได้ประจำ ให้ใช้หนังสือรับรองเงินเดือน/สลิปเงินเดือนของบุคคลนั้นแล้วแต่กรณี

4.2 กรณีบิดา มารดา ผู้ปกครอง ผู้ยื่นคำขอกู้ยืมเงิน หรือคู่สมรสของผู้ขอกู้ยืมเงินไม่มีรายได้ประจำให้ใช้หนังสือรับรองรายได้ครอบครัวของผู้ขอกู้ยืมเงิน (แบบ กยศ.102) และ สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการของผู้รับรองรายได้

5. หนังสือแสดงความคิดเห็นของอาจารย์แนะแนวหรืออาจารย์ที่ปรึกษา (แบบ กยศ.103)

6. แผนผังแสดงที่ตั้งของที่อยู่อาศัย พร้อมรูปถ่ายที่อยู่อาศัยของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง

7. ใบแสดงผลการศึกษา/สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษาที่ผ่านมา

8. เอกสารอื่นๆ ซึ่งสถานศึกษาพิจารณาเพิ่มเติม

หมายเหตุ : สำเนาเอกสารทุกฉบับต้องลงลายมือชื่อ โดยเจ้าของเอกสาร เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของบิดา บิดาต้องเป็นผู้รับรองสำเนาถูกต้อง เป็นต้น

.

อ่านรายละเอียดอื่นๆ  เพิ่มเติม  :   studentloan.or.th

ขอบคุณข้อมูล    :    loan.bu.ac.th

error: Content is protected !!