Press ESC to close

แนะแนว คณะ โลจิสติกส์ เรียนอะไร จบไปทำอะไรได้บ้าง มาเช็คกัน

แนะแนว คณะ โลจิสติกส์ เรียนอะไร จบไปทำอะไรได้บ้าง มาเช็คกัน

ถ้าพูดถึง ในยุคสมัยนี้ ที่เราสามารถช็อปปิ้งออนไลน์ อยู่ที่บ้านได้ สามารถสั่งซื้อของจากต่างประเทศได้ โดยที่ไม่กี่วัน ของก็มาส่งถึงหน้าบ้านแล้ว อาชีพ หรือ สิ่งที่สำคัญที่ทำให้ การทำแบบนี้ได้ นั่นคือ ระบบ โลจิสติกส์ ซึ่งต้องบอกเลยว่า สายงานทางนี้กำลังมาแรงเลยทีเดียว

น้องๆ คนไหนที่กำลังสนใจในทางด้านนี้ และกำลังตามเทรนด์ สายอาชีพสมัยใหม่อยู่ คณะโลจิสติกส์ อาจตอบโจทย์น้องๆ ก็ได้ เพื่อให้น้องๆ ไม่เกิดความสงสัย ถ้าอยากรู้ข้อมูลของคณะนี้มากกว่านี้ ก็ลองมาอ่านข้อมูลกันดีกว่า จ้า

นิยามของ  โลจิสติกส์

การเรียนใน คณะ / สาขาวิชาโลจิสติกส์ นั้น จะเรียนเกี่ยวข้องกับการจัดการระบบขนส่ง หรือการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ทั้งภาคพื้นดิน ทางเรือ และทางอากาศ แต่โลจิสติกส์ไม่ใช่แค่เรื่องของการขนส่งเท่านั้น สายงานด้านนี้ยังรวมไปถึงกระบวนการ วิธีการ การวางแผนสินค้าคงคลัง การจัดเก็บ ควบคุม การบริหารธุรกิจ รวมถึงต้องเข้าใจเกี่ยวกับการเงิน เป็นต้น

ต้องเจอกับวิชาอะไร ในการเรียนคณะนี้

** อ้างอิงข้อมูล จากหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน ปี 2563 มหาวิทยาลัยนเรศวร นะจ้ะ

วิชาที่จะได้เรียน ในปีต่างๆ เบื้องต้น (เฉพาะ หลักสูตรโลจิสติกส์ นะจ้ะ ถ้าเป็นการจัดการด้านอื่น อาจแตกต่างกันไป)

ปีที่ 1

หลักการตลาด

คณิตศาสตร์สำหรับ วิทยาศาสตร์

การเงินและบัญชีสำหรับธุรกิจ

การจัดการธุรกิจดิจิทัล

การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

ปีที่ 2

การใช้คอมพิวเตอร์ในงานโลจิสติกส์

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและโลจิสติกส์

การจัดการการจัดหาจัดซื้อ

สถิติธุรกิจ

การออกแบบและจัดการคลังสินค้า

ปีที่ 3

การจัดการด้านการปฏิบัติการเบื้องต้นสำหรับโลจิสติกส์

การจัดการการขนส่ง

การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่

การขนถ่ายวัสดุและการบรรจุภัณฑ์

ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร

ปีที่ 4

การวางแผนอุปสงค์และการจัดการสินค้าคงคลัง

เทคโนโลยีบล็อกเชนสำหรับการจัดการซัพพลายเชน

ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

ดูหลักสูตร ข้อมูลเต็มๆ ได้ที่    :    ลิงก์พาไป  !!

.

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

(1) นักวิชาการด้านโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน

(2) นักวิชาการด้านการจัดการการปฏิบัติการ

(3) นักวิชาการด้านบริหารธุรกิจของหน่วยงานต่างๆ

(4) นักวิเคราะห์และวางแผนด้านโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน

(5) นักจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศระบบโลจิสติกส์

(6) เจ้าหน้าที่วางแผนการผลิตและกระจายสินค้า

(7) เจ้าของธุรกิจหรือผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์

(8) พนักงานองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ในหน่วยงานด้านโลจิสติกส์และที่เกี่ยวข้อง

(9) อาชีพอื่นที่ใช้องค์ความรู้ทางด้านโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน

.

ขอบคุณข้อมูล     :  admissionpremium.com/logis/news/3540 , acad.nu.ac.th

error: Content is protected !!