Press ESC to close

เทคนิคการทำ Portfolio ให้ถูกต้อง และโดนใจกรรรมการคัดเลือก

เทคนิคการทำ Portfolio ให้ถูกต้อง และโดนใจกรรรมการคัดเลือก

Portfolio หรือแฟ้มสะสมผลงานเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญที่ใช้ยื่นเข้ามหาวิทยาลัย ในระบบ TCAS รอบที่ 1 ที่ใช้Portfolio ซึ่งหลักการทำต่างๆ และรูปแบบของPortfolio น้องๆ ต้องศึกษาข้อมูลจาก ระเบียบการของทางมหาวิทยาลัยนั้นๆ แต่ทำถูกอย่างเดียวมันยังไม่พอ มันจะทำให้โดยใจด้วย ในบทความนี้ พี่ก็มีเทคนิคการทำพอร์ต มาฝากกัน ลองไปเช็คกันดูดีกว่า

1. แสดงความเป็นตัวเอง

Portfolioเป็นแฟ้มที่รวบรวมประวัติส่วนตัว การสะสมผลงานที่ผ่านมา และนอกเหนือจากนั้นยังรวมถึงความสนใจของตัวเองอีกด้วย น้อง ๆ จำเป็นจะต้องรู้จักตัวเอง และลองดีไซน์มันออกมาในรูปแบบที่เป็นตัวเอง แต่ไม่ต้องเวอร์วังมากเกินไป เอาแต่พอดี นะจ้ะ

2. ก็ควรมีผลงานที่ผ่านมาด้วย

การรวบรวมผลงานที่ผ่านมาในอดีตจนถึงปัจจุบัน น้อง ๆ สามารถดึงเกียรติบัตร หรือรูปถ่ายตอนเราทำกิจกรรม เช่น กีฬาสี (เชื่อว่าทุกคนต้อง เคยทำ) การประกวดต่าง ๆ ที่เคยชนะหรือไม่ชนะขอแค่ได้เข้าร่วมก็เอามาได้หมด ซึ่งตรงนี้มันจะหลากหลายมาก ๆ จึงจำเป็นจะต้องแยกเป็นหมวดหมู่ ซึ่งหมวดหมู่ที่สำคัญหลัก ๆ ที่ควรมีได้แก่

1. ผลงานด้านวิชาการ เช่น การเรียน การแข่งขันความรู้ด้านต่าง ๆ การสอบวัดระดับทางภาษา การไปแข่งขันตอบปัญหา เป็นต้น

2. ผลงานด้านกิจกรรมนันทนาการ เช่น การนำสันทนาการ การทำแสตนเชียร์  ประธานนักเรียน เป็นต้น

3. ผลงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม เช่น  การประกวดภาพวาด การประกวดกลอนวันครู เป็นต้น

4. ผลงานด้านอาสา เช่น การออกค่ายอาสาของโรงเรียน โครงการการเก็บขยะรอบโรงเรียน หรือโครงงานที่ทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม เป็นต้น

5.ผลงานด้านกีฬา เช่น การแข่งขันกีฬาด้านต่าง ๆ การนำเต้นแอโรบิค เป็นต้น

3. เริ่มลงมือทำ

Portfolioพื้นฐาน จะแบ่งออกเป็น 6 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้

1. หน้าปก

หน้าปก Portfolio ควรที่เราจะต้องทำยังไงให้คณะกรรมการหยิบขึ้นมาอ่าน แล้วสนใจ แต่ไม่ต้องเวอร์วังมากนะ เพราะบางคณะไม่ได้จำเป็นต้องออกแบบสวยก็ได้เช่น น้องจะเข้าเรียน วิศวะ ก็ควรจะทำหน้าปกให้ เกี่ยวกับคณะวิศวะ ไม่ใช่ ออกแบบมามีดาวอังคาร หรือ รูปสัตว์น้ำเต็มไปหมด อันนี้ ก็ไม่เหมาะ นะจ้ะ

2. ประวัติส่วนตัว

ในด้านของประวัติส่วนตัวก็แน่นอนว่าพื้นฐานที่เราควรบอกเกี่ยวกับตัวเราและครอบครัว นั้นก็คือ ชื่อ-สกุล ชื่อเล่น วันเดือนปีเกิด สัญชาติ ศาสนา จำนวนพี่น้อง การศึกษาตั้งแต่เด็กจนโต ไม่ต้องย้อนไปถึงอนุบาลก็ได้นะ เอาพอสังเขปพอ นะจ้ะ

3. คำนิยม

คำนิยมเป็น จดหมายที่ท่านอาจารย์เขียนถึงตัวเรา ทั้งในด้านของ อุปนิสัย พฤติกรรม การใช้ชีวิตในโรงเรียน กิจกรรม เป็นต้น

4. ผลงานหรือกิจกรรมที่เคยทำ

ตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญของPortfolio น้อง ๆ สามารถนำผลงานที่น้องแบ่งออกเป็นหมวดหมู่มาดีไซน์อาจจะทำเป็นตาราง หรือใส่รูปตามด้วยแคปชั่นด้วยก็ได้นะจ้ะ

5. ผลงานหรือกิจกรรมที่ประทับใจ

ส่วนนี้สามารถเรียกคะแนนได้เยอะเลย โดยผลงานของเราต้องบ่งบอกความเป็นตัวเองของน้อง ๆ เพราะกิจกรรมที่ประทับใจ “เกิดจากการที่เราทำและมีความสุข และความสุขเกิดจากการที่เรารักที่จะทำมัน”

6. ภาคผนวก

มาถึงส่วนสุดท้าย นั้นก็คือ “ภาคผนวก” เป็นส่วนที่รวบรวมเอกสารทุกอย่างที่สำคัญที่เราอยากจะแสดง ไม่ว่าจะเป็นผลการศึกษา รูปภาพ(ที่อยากโชว์) เกียรติบัตร รางวัลต่าง ๆ เป็นต้น

โปรแกรมที่ใช้ทำPortfolio จะเป็น Photoshop หรือ Microsoft Powerpoint ก็ได้ ทำที่เป็นตัวเราและความสามารถของเรา จะดีกว่านะ ไม่จำเป็นต้องไปจ้างหรอก บางทีก็เปลืองตังค์เปล่านะ 55+

.

ขอบคุณข้อมูล    :    trueplookpanya.com/tcas/article/detail/60533

error: Content is protected !!